1. รักษาศีลให้บริสุทธิ์
การรัษาศีลให้บริสุทธิ์ คือจาตุปาริสุทธิศีล ประกอบด้วย
1.1 การสำรวมในพุทธบัญญัติ เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล
1.2 การสำรวมในอินทรีย์ไม่ยินดียินร้ายเมื่ออายตนภายนอกกระทบภายใน เรียกว่า อินทรียสังวรศีล
1.3 ความบริสุทธิ์ในอาชีพ หมายถึงการดำรงชีพตามวิธีที่พระพุทธจ้าทรงอนุญาต เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิศีล
1.4 การดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปัจจัย 4 เรียกว่า ปัจจยสันนิสิตศีล
2. ศึกษาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่า ไตรสิกขา อันได้แก่ สีลสิกขา(ศีล) จิตตสิกขา(สมาธิ)และปัญญาสิกขา(ปัญญา)
2.1 สีลสิกขา หมายถึงการรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อบเป็นปรกติ
2.2 จิตตสิกขา หมายถึง การทำจิตให้สงบระงับกิเลส
2.3 ปัญญาสิกขา หมายถึงการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ลุล่วงในทางสร้างสรรค์ประโยชน์โดยใช้หลักธรรมะ
3. หน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถอบรมสั่งสอนพระธรรมให้แก่พุทธศาสนิกชนที่เข้ามาฟังธรรมในวัด ในโอกาสต่าง ๆ อาทิ แสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะ แสดงธรรมหรืออบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนที่สนใจ เข้ามาศึกษาเล่าเรียน ในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หรือบรรยายพระธรรมเมื่อได้รับกิจนิมนต์ในเทศกาลต่าง ๆ หรือทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ
4. หน้าที่ในการดูแลและบูรณะปฏิสังขรณ์ โบราณสถาน ปูชนียวัตถุ เสนาสนะ ที่เป็นศาสนาสถานภายในวัด รวมทั้งการจัดหาปัจจัย มาทำนุบำรุงศาสนสถานอีกด้วย
5. หน้าที่บริหารคณะสงฆ์ตามตำแหน่งหน้าที่ อาทิ เป็นเจ้าคณะภานในวัด เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เลขานุการเจ้าคณะ พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎของคณะสงฆ์ และยังต้องมีหน้าที่สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร ติดต่อประสานงานกับทางราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้ามาติดต่อ
6. หน้าที่โดยตรงในการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยการบวชหรือการครองสมณเพศตลอดชีวิต รวมทั้งรับบุคคลผู้เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือพรรพชา เป็นสามเณร
|